ประวัติหมู่บ้าน



เดิมบ้านสิงห์สะอาด คือ บ้านโคกล่าม ขึ้นกับบ้านนาสีนวล หมู่ที่11 ต.โนนศิลา  อ.สหัสขันธ์  จ.กาฬสินธุ์เมื่อปี พ.ศ.2509 ได้แยกออกจากบ้านนาสีนวลเป็นบ้านสิงห์สะอาด หมู่ที่ 14 ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นาย พั้ว มงคล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
              ชื่อบ้านสิงห์สะอาด มาจากเหตุ ประการ ดังนี้
                  1. ผู้ที่วางรากฐานบ้าน นามสิงห์  คือ ร.ต.ต สิงห์  จำปามาศ
                  2. มีชาวบ้านไปค้นพบสิ่งศักดิ์สิทธิบนภูสิงห์ (ถ้ำบก) ปัจจุบันเรียก "ถ้ำพระ"
             เหตุผล ประการนี้ ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านให้เป็นสิริมงคลกับผู้ที่วางรากฐานบ้านและสิ่งศักดิ์สิทธิที่ชาวบ้านพบเห็นมา ว่า "บ้านสิงห์สะอาด" นับตั้งแต่นั้นจนมาถึงปัจจุบัน มีผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด คน ซึ่งคนปัจจุบัน คือ นายบุญเลิศ พรมวงศ์


ภาพประกอบ : แผนที่เดินดิน



สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน และการดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน
     บ้านสิงห์สะอาดมีถนน เส้นทางคมนาคมไปสู่อำเภอสหัสขันธ์และจังหวัดที่สะดวก คนในชุมชนยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ฮิตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นที่ตั้ง คนชุมชนรักใคร่สามัคคีกัน ช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก 
     ระหว่างหมู่บ้านต่อหมู่บ้าน มีถนนลูกรังเชื่อมหมู่ต่อหมู่ และตำบลอื่นๆ การทำมาหากินของคนในชุมชน ส่วนใหญ่ทำการเกษตร มีทำนาปีเป็นหลัก ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเป็นอาชีพรอง และเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม

พื้นที่

      -พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ดินปนทราย

อาณาเขตของหมู่หมู่บ้าน
      ทิศเหนือจด บ้านห้วยเตย หมู่ที่ต.สหัสขันธ์
       ทิศใต้จด บ้านขวัญเมือง หมู่ที่10 ต.สหัสขันธ์
       ทิศตะวันออกจด บ้านสิงห์สะอาด หมู่ที่13 ต.สหัสขันธ์
       ทิศตะวันออกจด ภูสิงห์  ต.สหัสขันธ์

การปกครองของหมู่บ้าน
1.ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายบุญเลิศ  พรมวงศ์
2.แบ่งหมู่บ้านออกเป็นคุ้ม / โซน ดังนี้
ที่
ชื่อคุ้ม / โซน
สมาชิกในคุ้ม
( ครัวเรือน )
ชื่อหัวหน้าคุ้ม/โซน
1
คุ้มนาสมบูรณ์
15
นายสมบูรณ์   ฆารบูรณ์
2
คุ้มสีฟ้าประเสริฐพัฒนา
24
นายบุญมา   อนุมาตร์
3
คุ้มแสงตะวัน
8
นายสนัย   พลเยี่ยม
4
คุ้มตะวันสีทอง
25
นายกงจักร  มงคล
5
คุ้มซุปเปอร์
16
นายบุญชัย  จำปาไสว
6
คุ้มพลังใหม่
15
นายสุพจน์   เชิดโกฑา
7
คุ้มภูสิงห์
22
นายไสว   อบมาลี



ครัวเรือนและประชากรของหมู่บ้านของหมู่บ้าน

   จำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้น 125 ครัวเรือน
   จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 580 คน
   แยกเป็นชาย 293 คน หญิง 287 คน


ด้านการศึกษาของหมู่บ้าน
  
     - มีศูนย์เด็กเล็กในหมู่บ้าน
     - มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในหมู่บ้าน
     - มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาใกล้หมู่บ้าน ( ไม่เกินระยะทาง 5 กิโลเมตร )


ด้านสุขภาพ
     
     -มีสถานพยาบาลหรือสถานีอนามัยห่างไกลหมู่บ้าน ( เกินระยะทาง 5 กิโลเมตร)

ด้านเศรษฐกิจ
   
    -อาชีพหลัก ทำนาปี
    -อาชีพรอง ปลูกอ้อย และมันสำปะหลัง
    -อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์


ทรัพยากรธรรมชาติ
   
               -ป่าไม้


ระบบสาธารณูปโภค

    -มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน มีสัญญาณโทรศัพท์ทุกเครือข่าย มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือนจากประปาอำเภอ  

บุญประเพณี

 เดือน๓ บุญข้าวจี่
         ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่แล้วจี่ไฟให้สุก แล้วนำไปใส่บาตรที่ศาลากลาง      หมู่บ้าน นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าได้กุศลเยอะ ทำในช่วงเดือนสาม เรียกว่า บุญเดือนสาม

เดือน ๔  บุญมหาชาติ
เป็นบุญที่ทำเกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดรนิยมทำในเดือนสี่ ซึ่งก่อนจัดงานมีการประชุมจัดเตรียมอาหารคาวหวานเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ และแขกผู้มาร่วมงานและปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ ทางวัดก็มีการแบ่งหนังเป็นกัณฑ์มอบให้พระภิกษุ สามเณร เตรียมไว้เทศน์ และนอกจากนั้นชาวบ้านยังมีการทอดผ้าป่าอีกด้วย
 
 เดือน๕ บุญสรงน้ำ
บุญสรงน้ำ มีการรดน้ำ หรือสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้หลักผู้ใหญ่ มีการทำบุญทำทาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญตรุษสงกรานต์" กำหนดทำบุญในเดือน ห้า

เดือน๖ บุญบั้งไฟ
ก่อนการทำนาชาวบ้าน จะมีการฉลองอย่างสนุกสนาน โดยการจุดบั้งไฟ เพื่อไปบอกพญาแถน เชื่อว่าจะทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล มีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามนำมาประกวดแห่ แข่งขันกันในวันรุ่งขึ้น กำหนดทำบุญในเดือน หก

เดือน๘ บุญเข้าพรรษา
ในเทศกาลเข้าพรรษา เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ ส่วนคฤหัสถ์ก็จะต้องบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้เต็มเปี่ยม ตอนเช้าญาติโยมจะนำอาหารมาถวายพระภิกษุ ตอนบ่ายนำดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสาร ผ้าอาบน้ำฝน รวมกันที่ศาลาวัด ตอนเย็นญาติโยมพากันทำวัตรเย็นแล้วฟังเทศน์ กำหนด วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือน ๘"

เดือน ๙ บุญข้าวประดับดิน
 ห่ออาหาร และของขบเคี้ยวเป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายวางแบไว้กับดิน จึงเรียกว่า "บุญข้าวประดับดิน" ชาวบ้านจะจัดอาหารคาว หวาน และหมากพลู บุหรี่ กะว่าให้ได้ ๔ ส่วน
  ส่วนที่ ๑ เลี้ยงดูกันในครอบครัว
  ส่วนที่ ๒ แจกให้ญาติพี่น้อง
            ส่วนที่ ๓ อุทิศไปให้ญาติที่ตาย
           ส่วนที่ ๔ นำไปถวายพระสงฆ์
    
     ทำเป็นห่อๆให้ได้พอควร โดยนำใบตองกล้วย มาห่อของคาว หวาน หมากพลู บุหรี่ แล้วเย็บรวมกันเป็นห่อใหญ่ ในระหว่าง เช้ามืดในวันรุ่งขึ้นจะนำห่อเหล่านี้ไปวางไว้บริเวณวัด ด้วยถือว่าญาติพี่น้องจะมารับของที่นั่น (เชื่อกันว่าเป็นวันยมทูตเปิดนรกชั่วคราว ให้สัตว์นรก มารับของทานในระยะหนึ่ง และยังถือว่าเป็นวันกตัญญูอีกด้วย) ตอนเช้านำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปถวายพระ ฟังพระธรรมเทศนา เสร็จแล้วทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กำหนดทำบุญในเดือน ๙
  
ดือน๑๐ บุญข้าวสาก
บุญข้าวสาก หรือบุญเดือนสิบ การเขียนชื่อใส่สลากให้พระภิกษุและสามเณรจับและเขียนชื่อใส่ภาชนะข้าวถวายตามสลากนั้นและทำบุญอย่าอื่นมีรักษาศีลฟังธรรม เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าสาก (สลาก ) เพราะกำหนดให้ทำในเดือนสิบ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ

เดือน ๑๑ บุญออกพรรษา
การทำบุญออกพรรษานี้ เป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันได้ พระภิกษุสงฆ์สามารถเดินทางไปอบรมศีลธรรม หรือไปเยี่ยม ถามข่าวคราว ญาติพี่น้องได้ และภิกษุสงฆ์สามารถหาผ้ามาผลัดเปลี่ยนได้ เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่เช้ามืดจะมีการตีระฆังให้พระสงฆ์ไปรวมกันที่โบสถ์แสดงอาบัติเช้า จบแล้วมีการปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ กำหนด บุญออกพรรษาในเดือน ๑๑

เดือน๑๒บุญกฐิน
   ผ้าที่ใช้สดึงทำเป็นกรอบขึงเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผู้ใดศรัทธา ปรารถนาจะถวายผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งให้เขียนสลาก (ใบจอง) ไปติดไว้ที่ผนังโบสถ์ หรือศาลาวัด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นจองทับ เมื่อถึงวันกำหนดก็บอกญาติโยมให้มาร่วมทำบุญ มีมหรสพสมโภช และฟังเทศน์ รุ่งเช้าก็นำผ้ากฐินไปทอดถวายที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี กำหนด ทำบุญระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

รายละเอียดเพิ่มเติมบุญประเพณีไปที่